วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สามี หนีหน้าที่ได้หรือ? : คอลัมน์ ฎีกาชีวิต

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช
 
คู่สมรสอาจเกิดปัญหารุนแรงถึงขั้นแตกหักจนยากจะทนอยู่ร่วมชีวิต กันได้อีกต่อไปทางเลือกที่ไม่อื้อฉาวคือพูดคุยกันเสียก่อนถ้ายอมรับเหตุและ ผลกันได้ก็ไม่ต้องมีความจำเป็นยื่นคำขาดขอหย่าหรือใช้สิทธิทางศาลชายหรือ หญิงฝ่ายใดขาดความซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่ที่มีต่อกันจะพบชะตากรรมเดียวกัน
ความซื่อสัตย์ของชีวิตคู่พึงรักษากันไว้ให้มั่นคงคือรากฐานสำคัญของครอบ ครัวฝ่ายใดไม่ซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่คือต้นเหตุแห่งปัญหาจะเป็นผลร้ายแรง ต่อชีวิตครอบครัวอาจเกิดจากสามีจะไปติดพันหญิงอื่นภริยาปากร้ายใจดีชอบดู หมิ่นเหยียดหยามสามีเลยเถิดไปถึงบุพการี หรือเข้าบ่อนติดการพนัน เป็นอาทิ
เพียงแต่ว่าถ้าฝ่ายใดพอมีสติกันอยู่บ้างอาจเตือนสติฝ่ายก่อเหตุให้รีบ แก้ไขเสียและขอให้คิดถึงความรักความดีงามการเสียสละและชีวิตของลูกๆซึ่ง กำลังเติบใหญ่มีพ่อแม่อยู่กันพร้อมหน้าปัญหาใดเข้ามาก็แก้ไขกันได้ถ้าพ่อแม่ แยกกันอยู่เพราะหย่ากันแล้วจะเกิดผลร้ายตามมาต่ออนาคตของลูกได้
เมื่อมีเหตุจะเชื่อเช่นนั้นก่อนหย่าให้แยกกันอยู่กันชั่วคราวจะด้วยวาจา หรือจะเป็นลายลักษณ์อักษรให้รีบทำเถิดเพื่อให้โอกาสคนก่อเหตุมีเวลาแก้ไข ปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจหย่ากัน
ข้อตกลงแยกกันอยู่สามีอยู่บ้านหนึ่ง ภริยาอยู่อีกบ้านหนึ่งถือว่ามีผลบังคับกันได้ไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายแต่ สิ่งที่ต้องตระหนักทั้งสามีภริยาต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อกันอย่า ลืม..แกล้งลืม...
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา(ยังไม่ได้มีการหย่า) ต่างต้องอยู่กินด้วยกัน (อาจแยกกันอยู่ชั่วคราวได้) ต่างต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน (มาตรา 1461) ค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงผูกพันเสมือนหนึ่งเงาตามตัวทั้งสามีและภริยาไม่อาจ หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อกันได้
สิ่งที่คู่สมรสควรตระหนักไว้ว่า "ตราบใดที่การสมรสไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายก็ดี การหย่าก็ดี หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสก็ดี สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันไป"
เพราะถือว่าสามีภริยาคู่นั้นยังไม่หย่าขาดจากกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในมาตรา1501ต่างต้องมีหน้าที่ต่อกันจนกว่าจะหย่า(ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 2627/2530)
มีหลายกรณีเกิดขึ้นในศาลขณะที่สามีภริยาแยกกันอยู่ชั่วคราวเพื่อแก้ไข ปัญหาที่ยังไม่ลงตัวระหว่างนั้นเกิดปัญหาตามมาถึงขั้นมีการฟ้องร้องต่อศาล และสู้คดีกันถึงสามศาลจึงขอนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงกับชีวิตจริงดั่ง อุทาหรณ์สองเรื่องอ่านแล้วจะรู้เข้าใจถึงหน้าที่ของสามีภริยาที่มีต่อกัน
ศาลพิพากษาให้สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาเป็นรายเดือนเหตุเพราะ โจทก์หรือสามีมีฐานะดีกว่าจำเลยคือภริยา(คำพิพากษาฎีกาที่3822/2534) หรือ
ภริยาสมัครใจแยกกันอยู่กับสามีชั่วคราวทั้งๆ ที่เธอไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุสร้างปัญหา เธอกระทำด้วยความสุจริตใจแม้ใจจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม ภริยาอาจอยู่ในฐานะพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งหลังแต่งงานถูกสามีขอร้องให้ออกจากงานมาทำหน้าที่ดูแลบ้านเรือนและรับภาระเลี้ยงลูก
ครั้นมีเหตุแห่งปัญหาสามีอาจไปติดพันหญิงอื่นหรือเหตุใดก็ช่างเถอะแต่จำ ต้องแยกกันอยู่ชั่วคราวหลังจากนั้นสามีปฏิเสธจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งๆ ที่มีความสามารถอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้
คิดว่าแยกกันอยู่ชั่วคราวตัวใครตัวมันหาได้ไม่ ความรับผิดชอบยังติดตามตัวสามี
สามีมีงานการทำเป็นปึกแผ่นมีรายได้แน่นอนเป็นรายเดือนหรือมีอาชีพค้าขาย ก็ได้ครั้นเกิดปัญหาไม่อาจลงตัวอาศัยเวลาช่วยคลี่คลายแก้ไขเหตุสามีจะ ปฏิบัติกับภริยาตนเองเสมือนหนึ่งเธอมีรายได้จากงานประจำแต่ความเป็นจริงเธอ ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านมีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและไม่มีรายได้เหมือนก่อน
ไม่ใช่สิ่งถูกต้องยุติธรรมกับภริยาและแม่ของลูก สภาพความเป็นจริงบังคับให้เธอไปหยิบยืมเงินคนอื่นได้นานเท่าใดกัน สามีอยู่ใกล้ชิดรู้อยู่แก่ใจดีกว่าคนนอกและควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ยกมา กล่าวไว้ว่าเธอยังอยู่ในสถานะของภริยาและสามีจะปฏิเสธหน้าที่อุปการะเลี้ยง ดูภริยาได้อย่างไรกัน
หน้าที่ของสามีที่ดีต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ
เรื่องทำนองนี้หากมีคดีขึ้นสู่ศาล คิดหรือว่าชายผู้เป็นสามีจะหนีหน้าที่ที่มีต่อภริยาได้กระนั้นหรือ? คำตอบคือไม่อาจหนีพ้นความรับผิดชอบต่อภริยาได้ครับ (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 5627/2530)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น