วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

ดิ โอนลี่ ซัน สปริง ซัมเมอร์ 2015

สปริง ซัมเมอร์ 2015 – ไมล์ ลอง ดรอว์อิ้ง

แรงบันดาลใจ:
ย้อน กลับไปในยุค 60’s ยุคสมัยที่แนวร่วมจิตวิญญาณเบ่งบานถึงขีดสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา การหลั่งไหลเข้ามาอิทธิพลศิลปะและความเชื่อจากฝั่งตะวันออกได้นามาลัทธิการ ออกแบบสุดเรียบง่ายอย่างแนวร่วมเซ็น (ZEN) เข้ามามีส่วนในการพัฒนาจิตใต้สานึกของเหล่าผู้เสพศิลปะในยุคนั้น เช่นเดียวกันศิลปินจากอเมริกันนาม วอลเตอร์ ดิ มาเรียส์ (Walter De Maria’s (October 1, 1935 – July 25, 2013)) ที่จับเอารูปสามเหลี่ยม, วงกลม และจตุรัส ที่พบเห็นในศิลปะพุทธเซ็นไกจากศตวรรษที่ 18 มาเป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างสรรค์งานหลากหลายตั้งแต่ดนตรี, การแสดง และงานเขียน ไปจนถึงงานปฏิมากรรมอันแสนเรียบง่ายต่างๆ โดยถึงแม้ว่างานของดิ มาเรียส์จะถูกจาแนกไว้ในหมวดศิลปะมินิมัลลิสต์ด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตซ้า ไปมาจนเกิดรูปแบบงานที่แตกต่างกัน แต่นอกเหนือจากการรับรู้ได้ถึงสุนทรียศาสตร์สุดสงบนี้ การต่อยอดทางจากจินตนาการและความคิดต่างหากที่ดิ มาเรียส์สร้างจิตกระตุ้นให้เกิดในสมองของแต่ละคน ดังที่เขาได้กล่าวว่า “หนึ่งงานศิลปะที่ดีต้องต่อยอดจินตนาการได้หลากหลาย”

นอกเหนือจากงาน ของดิ มาเรียส์แล้ว สปริง/ซัมเมอร์นี้ เอกบุตร อุดมผล ยังศึกษาถึงแนวร่วมศิลปะลวงตา (Op Art) นาทีมโดยศิลปินชาวฮังการี วิคเตอร์ วาซาลีย์ (Victor Vasarely April 9, 1906 – March 15, 1997)) สไตล์การสร้างงานอันเป็นเอกลักษณ์ของวาซาลีย์เกิดจากการใช้รูปเรขาคณิตหลาก สีมาจัดเรียงไล่โทน เรียงขนาดให้เป็นมิติลวงตา ดังที่ปรากฏในการใช้ลายพิมพ์และเทคนิคเสื้อผ้า

คอลเลคชั่น
สี: ครีมงาช้าง, ชมพูนู้ด, แดงดินเผา, น้าเงินเข้ม, เขียวมินต์, เทา, ฟ้าจาง และดา

ผ้าและวัตถุดิบ:

- ผ้าคอตต้อนสองหน้าสีขาว-ดา
- ผ้าซาตินสองหน้าตัดด้วยเลเซอร์
- ผ้ายืดเจอร์ซีย์เนื้อแน่นพิมพ์ลายเรขาคณิตด้าน
- ผ้ากลางคืนผิวมัน ตกแต่งด้วยเข็มกลัด
- ผ้าตาข่ายสีขาว-ดา

เทคนิค: ลายพิมพ์เรขาคณิตบนชิ้นผ้าทอ การใช้รูปกลม, สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยมในการสร้างโครงเสื้อและตัดต่อ เสื้อแจ๊คเก็ตใส่ได้สองด้านสีขาวดา การปักตกแต่งโลหะบนผ้าซาติน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น