วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สิ่งของเครื่องใช้ใกล้ตัวที่ควรระวัง

ยุคแห่งความสะดวกสบาย บางครั้งก็มาพร้อมความน่ากลัวกว่าที่คิด อย่างอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ภายในบ้านที่ เราหยิบจับมาใช้งานในชีวิตประจำวัน ต่างก็มีสารเคมีปนเปื้อนมากมายที่แลกมากับความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรแฝงสารพิษมาบ้าง

อุปกรณ์การสื่อสารและเครื่องใช้ไฮเทค
อุปกรณ์การ สื่อสารและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ เชื่อได้ว่าทุกบ้านต้องมีเหมือนปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตของคนในยุค นี้ ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีเครื่องใช้ที่มีสารอันตราย ปะปนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสารตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ฯลฯ โดยสารพิษจะถูกปล่อยปะปนในอากาศ โดยวัสดุสังเคราะห์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะปล่อยสารเคมีหรือไอระเหยที่เป็นพิษ นับร้อยชนิดสู่อากาศ ทำให้เป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บแบบหาสาเหตุไม่ได้ ตั้งแต่โรคภูมิแพ้ หอบหืด ไซนัส อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ

เฟอร์นิเจอร์ที่มีส่วนประกอบของไม้อัด
ส่วนใหญ่ มักมีสารที่เรียกว่าฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์พบได้ใกล้ตัวภายในบ้านเรา เช่น ในบ้านที่ทาด้วยแลคเกอร์เคลือบพื้นไม้ ปูพรมที่พื้น ผนังติดตั้งวอลเปเปอร์ หรือที่อยู่ในเครื่องเรือนที่ใช้ไม้อัด ตลอดจนวัสดุที่เรียกว่า Particle Board ซึ่งใช้ทำตู้ โต๊ะ และเครื่องเรือนต่างๆ สำหรับคนรักสวยรักงามที่ชอบเคลือบเล็บด้วยสีสัน ก็ต้องเสี่ยงพบกับไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์เช่นเดียวกัน โดยอันตรายจากการสูดดมไอระเหยของสารชนิดนี้เข้าไป หากเกิน 0.1 ppm จะทำให้เกิดอาการเฉียบพลันคือ แสบตา และระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ และหากสูดดมเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งโพรงจมูก เป็นต้น

ภาชนะและขวดน้ำพลาสติก
หากภาชนะที่ว่านี้ทำจาก พลาสติกชนิดที่เรียกว่า Polymer ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ชนิดสังเคราะห์ขึ้นมาเอง และเมื่อนำภาชนะพลาสติกไปสัมผัสกับอาหารจานร้อน หรือการนำขวดน้ำพลาสติกทิ้งไว้ภายใต้อุณหภูมิสูงมากๆ นั้น อาจทำให้สารต่างๆ ในพลาสติกรั่วไหลออกมาแล้วปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดการสะสมเรื้อรังภายในร่างกายจนเกิดเป็นโรคขึ้นได้ในอนาคตโดยเฉพาะโรค มะเร็ง สำหรับวิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือ ไม่ควรนำภาชนะพลาสติกใส่อาหารจานร้อน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงอาหารกระป๋อง และการรับประทานจากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยตรง ทางที่ดีควรเปลี่ยนมาใส่จานหรือชามแก้ว สแตนเลส และเซรามิกทนความร้อนจะอุ่นใจกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น